วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอนที่ 3 : รู้ทันงานบัญชีที่ต้องนำส่ง - กรมสรรพากร (ภาคต่อจากตอนที่ 2)

ซึ่งเราสามารถแยกเนื้องานที่นำส่งแก่ส่วนราชการดังต่อไปนี้
-
งานด้านสำนักงานประกันสังคม (กล่าวในตอนที่แล้ว)
- งานด้านกรมสรรพากร
- งานด้านสำนักงานกองทุนเงินทดแทน
- งานด้านกรมพัฒนาธุรกิจ

งานด้านกรมสรรพากร
ในแต่ละเดือนต้องไปกรมสรรพากร 2 ครั้งคือทุกวันที่ 7 นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ วันที่ 15 นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

I.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งในบริษัทธรรมดาทั่ว ๆ ไปก็จะเกี่ยวข้องกับ
- ภงด.1 ได้แก่ ภาษีที่หักจากเงินเดือนของพนักงาน
- ภงด.3 ได้แก่ ภาษีที่หักจากผู้ที่เราจ่ายเงินให้ แต่เป็นบุคคลธรรมดา
- ภงด.53 ได้แก่ ภาษีที่หักจากผู้ที่เราจ่ายเงินให้ แต่เป็นบริษัทเหมือนกัน

ซึ่งขอขยายความคำว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือภาษีที่ผู้จ่าย มีหน้าที่หักภาษี และนำส่งให้กรมสรรพากร
ซึ่งถ้าคุณไม่หักไว้แล้วกรมสรรพากรมาตรวจเจอ คุณต้องรับผิดชอบเป็นผู้จ่ายภาษีในส่วนนี้แทน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้รับเงินมักจะขอไม่ให้หัก ณ ที่จ่าย อันนี้คุณเองก็ต้องแจ้งให้ผู้รับเงินทราบเลยว่าตรงนี้มันเป็นกฎหมาย พวกนี้มักชอบเลี่ยงภาษีดังนั้นคุณเองต้องเอากรมสรรพากรมาอ้าง เพราะในฐานะผู้ทำบัญชีแล้ว ส่วนใหญ่ฝ่ายจัดซื้อมักมาอ้างเสมอว่าผู้รับเงินไม่ยอมให้หักเพราะราคาถูกแล้ว อันนี้ยังไงดิฉันก็ไม่ยอมเนื่องจากเงินตรงนี้มันถือเป็นเงินที่เป็นเครดิตภาษีของผู้รับเงินอยู่แล้ว สิ้นปีถ้ารายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี เงินตรงนี้ขอคืนได้หมด แต่ถ้าต้องจ่ายภาษี เงินตรงนี้ก็นำมาใช้แล้วจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ทำบัญชีคิดว่ามันเป็นการดีกว่าด้วยซ้ำ
ภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายที่พบบ่อย ได้แก่
1. ค่าเช่า หัก ณ ที่จ่าย 5%
2. ค่าบริการ หัก ณ ที่จ่าย 3%
3. ค่าโฆษณา หัก ณ ที่จ่าย 2%
4. ค่าขนส่ง (ต้องจดประกอบการในฐานะขนส่งเท่านั้น) หัก ณ ที่จ่าย 1%

II.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งก็คือ VAT นั่นเอง
เรื่องนี้ไม่ยาก แต่คนมักชอบหลีกเลี่ยงภาษีกัน ซึ่งดิฉันคิดว่ามันน่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดกันไป
เองซึ่งแบ่งเป็นเรื่องใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ยังไง ๆ ก็ต้องขอบิล vat เท่านั้น ถ้าไม่ใช่บิล vat มันจะผิด ใช้ไม่ได้
2. ซื้อโดยไม่เอา vat ช่วยเปิดบิลโดยไม่เอา vat ทีนี้ผู้ขายก็อยากขายไงคะ ก็เลยเปิดบิลขายแบบที่เรียกกันว่าบิลหัวโล้น คือ ไม่มีชื่อ-ที่อยู่ผู้ขาย มีแต่รายการกับยอดเงิน ซึ่งข้อนี้น่ากลัว มีผลกระทบทางบัญชีของผู้ขายเองมากมาย โดยเฉพาะเรื่อง stock ของตนเอง จะรู้มั้ยเนี่ย

เรื่องนี้มันยาว เอาเป็นว่าขอสรุปรายการที่ต้องทำเพื่อนำส่งให้กรมสรรพากรนะคะ ซึ่งเราจะทำแบบ
ภพ.30 ซึ่งในบริษัทก็จะทำ
1. สรุปรายการภาษีขาย ต่อเดือน
2. สรุปรายงานภาษีซื้อ ต่อเดือน
เมื่อได้แล้วก็นำตัวเลขภาษีขาย หัก ภาษีซื้อ ก็จะได้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งให้กรมสรรพากร

“บัญชีง่ายนิดเดียว จริงปะ”

ไม่มีความคิดเห็น: