วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอนที่ 2 : รู้ทันงานบัญชีที่ต้องนำส่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละเดือน

เมื่อคุณเป็นเจ้าของกิจการแล้ว คุณควรรู้ว่านอกจากงานบริหารด้านการขายหรือให้บริการแล้ว สิ่งที่คุณเองต้องรู้ว่าใน 1 รอบปีนั้น งานบัญชีเค้าทำอะไรกันบ้าง เพราะเมื่อคุณรู้แล้ว คุณเองจะสามารถอุดรอยรั่วของปัญหาจากกรมสรรพากรหรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เอาหละเรามาสรุปง่าย ๆ ให้ได้ใจความกันเลย Letgo
เราสามารถแยกเรื่องราวทั้งหม ได้ดังนี้
1. งานที่ต้องนำส่งต่อเดือน
2. งานที่ต้องนำส่งกลางปี
3. งานที่ต้องนำส่งทุกสิ้นปี


ซึ่งเราสามารถแยกเนื้องานที่นำส่งแก่ส่วนราชการดังต่อไปนี้
1. งานด้านกรมสรรพากร
2. งานด้านสำนักงานประกันสังคม
3. งานด้านสำนักงานกองทุนเงินทดแทน
4. งานด้านกรมพัฒนาธุรกิจ


เรามาอธิบายประเด็นกันดีกว่า แต่ต้องขอบอกก่อนนะคะว่า ในรายละเอียดมันอาจจะแยะ เพราะเรื่องราวมันเยอะแยะตาแปะไปหมด ดิฉันเองอาจแบ่งเรื่องราวออกเพื่อให้ค่อย ๆ เรียนรู้ เพราะถ้าเขียนเนื้อหามากเกินไป อาจทำให้ผู้อ่านจะสับสนและงง

1. งานต่อเดือน แยกออกเป็น 2 ส่วน (ในที่นี้ขอกล่าวถึง report ที่ต้องนำส่งให้กับส่วนราชการ)
งานที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคม (นำส่งค่าประกันสังคมทุกไม่เกินวันที่ 28 ของเดือนถัดไป)
1.1 เมื่อคุณเปิดบริษัทและมีพนักงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป คุณต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม โดยในแต่ละเดือนคุณต้องนำส่งเงินประกันสังคมทุกไม่เกินวันที่ 28 ของแต่ละเดือน โดยคุณเองสามารถเลือกที่จะไปจ่ายที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ ไปนำส่งที่สำนักงานประกันสังคม
1.2 ขอขยายความ 1.1 คือ เจ้าของกิจการเมื่อจ่ายเงินเดือน ต้องหักค่าประกันสังคมจากเงินเดือน 5% ของเงินเดือน แต่ถ้าเงินเดือนเกิน 15,000.- เช่น เงินเดือนพนักงาน 15,800.- นั่นไม่ใช่เอาเงินเดือนมาคำนวณนะคะ คือเพดานสูงสุดของค่าประกันสังคมพนักงาน = 750.- ต่อเดือนเท่านั้น
1.3 ขยายความต่อจาก 1.2 คือ เมื่อหักพนักงานไว้แล้ว 5% ในส่วนของบริษัทเองต้องสมทบเพิ่มอีก 5% เท่ากัน ก็คือ ค่าประกันสังคมพนักงานสำหรับเงินเดือน 15,800 (ตามตัวอย่างข้อ 1.2) บริษัทนำส่งค่าประกันสังคมทั้งสิ้น 750+750 = 1,500.- (ค่าประกันสังคมของบริษัทนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้)
1.4 เมื่อมีพนักงานเข้าทำงานใหม่ หรือ ลาออกจาก หรือพูดง่าย ๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทะเบียนพนักงานในบริษัท คุณต้องยื่นรายงานต่อสำนักงานประกันสังคมให้ทราบไม่เกิน 15 วันนับจากมีการเปลี่ยนแปลง
งานที่ต้องนำส่งกองทุนเงินทดแทนประจำปี (นำส่งทุกวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี)
1.5 หลายท่านเองอาจไม่เข้าใจในเรื่องนี้นัก สรุปง่าย ๆ ว่า ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ผู้จ่ายเงินคือ เจ้าของกิจการ ซึ่งทางกองทุนเงินทดแทนจะประเมินความเสี่ยงของธุรกิจคุณเป็น % แล้วคูณด้วยเงินเดือนรวมของพนักงานที่จ่ายใน 1 ปี ก็จะออกมาเป็นยอดเงินกองทุนเงินทดแทน
แต่มันยังมีเรื่องราวซ้อนกันอยู่ นั่นก็คือ เริ่มต้นด้วยต้นปี สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะประเมินค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินเดือนรวมต่อปีก่อนในเบื้องต้น แล้วคุณเองก็จ่ายไปตามนั้น (เป็นการประเมินเงินเดือนที่คาดว่ากิจการคุณจะจ่ายใน 1 ปี) พอสิ้นปีคุณต้องเก็บตัวเลขเงินเดือนจ่ายจริง (คือดูได้จาก ภงด.1ก) เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเลขที่กองทุนเงินทดแทนประเมินไว้ ถ้าปรากฎว่า
1. ยอดเงินที่ประเมิน > ยอดเงินที่จ่ายจริง หมายความว่า คุณต้องได้รับเงินคืน
2. ยอดเงินที่ประเมิน < ยอดเงินที่จ่ายจริง หมายความว่า คุณต้องจ่ายเงินเพิ่ม

“บัญชีง่ายนิดเดียว จริงปะ”

ไม่มีความคิดเห็น: